ชื่อแหล่ง | วัดนางสาว |
ที่ตั้ง | หมู่ที่ 7 ตำบล ท่าไม้ อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร |
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง | |
รถยนต์ส่วนตัว
| จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) แยกขวาเข้าอ้อมน้อย หรือทางหลวงหมายเลข 3091 ไปราว 5 กม. จะถึงทางแยกเข้าวัดทางขวามือ หรือจากตัวเมืองมหาชัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 3091 (ถ.เศรษฐกิจ) ผ่าน อ.กระทุ่มแบน ประมาณ 1 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าไปราว 1 กม. ก็จะถึงวัด |
รถประจำทาง
| นั่งรถโดยสารสาย 402 (สมุทรสาคร-นครปฐม) ที่ท่ารถ บขส. สมุทรสาคร |
|
|
|
|
ประวัติ
| | จากตำนานและคำบอกเล่าของบ้านกล่าวว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้เกิดสงคราม ระหว่างกองทัพกรุงศรีอยุธยากับกองทัพพม่า พม่าได้ยกกองทัพเข้ามารุกรานจนถึงบ้านบางท่าไม้ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน พวกผู้ชายออกไปรบเพื่อป้องกันบ้านเมืองกันหมด จึงเหลือ แต่เฉพาะผู้หญิง เด็กและคนชราจึงพากันอพยพหลบหนีภัยสงคราม แต่ในระหว่างทาง ได้ไปพบกับกองลาดตระเวน ของทหารพม่าจึงได้พากันเข้าไปหลบซ่อนตัว ในพระอุโบสถของวัดร้างแห่งหนึ่ง ในจำนวนของผู้หนีภัย สงครามทั้งหมดนั้น มีพี่น้องสองสาวคู่หนึ่งได้อธิษฐานกับพระประธาน ว่าถ้าพวกตนสามารถรอดพ้น จากเงื้อมมือของทหารพม่าไปได้ จะกลับมาบูรณะซ่อมแซมวัดแห่งนี้ หลังจากเหตุการณ์สงครามสงบ พี่น้องทั้งสองคนก็ได้กลับมายังวัดแห่งนี้ ฝ่ายพี่สาวเห็นว่าสภาพของวัดทรุดโทรมมากควรจะสร้างวัดขึ้น ใหม่จึงได้ไปสร้างวัดใหม่ขึ้นเรียกชื่อว่า "วัดกกเตย" (ปัจจุบันวัดนี้ล่มลงในน้ำหมดแล้ว) แต่น้องสาวต้อง การกระทำตามสัจจาธิษฐานของตน จึงได้ดำเนินการบูรณะจนแล้วเสร็จและตั้งชื่อว่า "วัดพรหมจารีย์-ราม" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดน้องสาว" และได้เพี้ยนมาเป็น "วัดนางสาว" ในปัจจุบัน |
|
|
| |
| |
พระอุโบสถ
|
อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมา 1 ห้อง มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาปูน ปั้นประดับกระจก ( แต่เดิมช่อฟ้าใบระกาเป็นไม้ หน้าบันเป็นไม้ประจุเรียบ ต่อมาวัดได้ดำเนินการซ่อม แซมขึ้นใหม่ ) ผนังพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางด้านหน้าเพียงประตูเดียว ด้านอื่นๆปิดทึบไม่มีหน้าต่าง แบบ "โบสถ์มหาอุด" ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้ได้รับการซ่อมแซมใหม่ |
|
|
| |
เจดีย์
|
ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างศาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้สิบสองทรงระฆัง ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน 3 ชั้น มีบัลลังก์รองรับปากระฆัง องค์ระฆังมีการตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้และพวงอุบะ ส่วนยอดเป็นบัวคลุ่มเถาและปลียอด |
|
|
| |
โบสถ์มหาอุต
|
มีฐานโค้งรูปเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่พบมากในช่วงอยุธยาตอนปลาย จนถึงช่วงรัตนโกสินทร์ ผนังด้านนอกประดับด้วยกระเบื้องลายนูนต่ำ ภาพเทวดาเหาะเหิน เดินอากาศ โบสถ์หลังนี้มีขนาดกะทัดรัด ไม่มีหน้าต่าง มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียว เป็นลักษณะเฉพาะของโบสถ์มหาอุด ซึ่งในสมัยโบราณ ใช้สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน เนื่องจากต้องการอยู่ในพื้นที่จำกัด ไร้การรบกวนจากสภาพแวดล้อม ภายในประดิษฐานพระประธานชื่อหลวงพ่อมหาอุด |
|
|
| |
วิหารคู่
|
เป็นวิหารสองหลัง ตั้งอยู่ด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ ภายในวิหารแต่ละหลัง ประดับตกแต่งด้วยกระจกสี เป็นลวดลายวิจิตรสวยงาม เมื่อหันหน้าเข้าโบสถ์ วิหารทางซ้าย ประดิษฐานหลวงพ่อป่าเลไลย์ ส่วนทางขวาประดิษฐานหลวงพ่อดำ |
|
|
| |